องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเรือ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี :www.klongrua.go.th

 
 
อำนาจหน้าที่

   อำนาจหน้าที่ของ องค์การบริหารส่วนตำบล รูปแบบองค์การ องค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วย    
1. องค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละหนึ่งคน ซึ่งเลือกตั้งขั้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น กรณี ที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเพียงหนึ่งหมู่บ้านให้มีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลหกคน และในกรณีมีเพียงสองหมู่บ้านให้มีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละสามคน   
 2. องค์การบริการส่วนตำบลมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หนึ่งคน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นกฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหาร อบต. (58) ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คน ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น เรียกว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง [แก้] อำนาจหน้าที่ของ อบต.     อบต. มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562) อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล     มาตรา 66 องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในหารพัฒนาตำบลทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม     มาตรา 67 ภายใต้บังคับกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้       (1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก  (1/1)66 รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว   
  (2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล    
  (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ    
  (4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย    
  (5)67 จัดการ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา    
  (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ  
  (7) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม    
  (8)68 บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น  
    อำนาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ     พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้ อบต. มีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 ดังนี้    
1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง    
2.การจัดให้มี และบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ   
3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ   
4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ    
5. การสาธารณูปการ    
6. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ    
7. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม   
8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว    
9. การจัดการศึกษา    
10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส    
11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น    
12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย    
13. การจัดให้มี และบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ    
14. การส่งเสริมกีฬา    
15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน    
16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น    
17. การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง    
18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย    
19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล    
20. การจัดให้มี การควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน    
21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์    
22. การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์    
23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ    
24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม    
25. การผังเมือง    
26. การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร    
27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ    
28. การควบคุมอาคาร    
29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย    
30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน    
31. กิจอื่นใด ที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด